ประเด็นที่มาโครงการ (Problem Issues)
ตราด
เป็นจังหวัดสุดท้ายด้านตะวันออกของประเทศไทย
มีชายแดนติดกับเกาะของกัมพูชาและเขตจังหวัดติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ตราดเป็นเมืองท่องเที่ยว
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
จึงผู้บุกเบิกการขนส่งทางอากาศเพื่อสนับสนุนการขนส่งทางอากาศตามนโยบายของรัฐบาล
และประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับอย่างมาก
คือความเจริญในการท่องเที่ยวซึ่งก่อให้เกิดรายได้กับงานบริการอีกหลายอย่างที่ตามมา
อาทิเช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก การนำเที่ยว ทางบริษัท
การบินกรุงเทพ จำกัด ได้ก่อสร้างสนามบินแห่งนี้ขึ้นมา
เพื่อเปิดเส้นทางบินจากภาคกลางในตะวันออกแล้วต่อไปยังภาคใต้ เช่น ระนอง ภูเก็ต
หาดใหญ่ และก็สามารถบินจากภาคใต้มาที่ภาคตะวันออกแล้วต่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือภาคเหนือ
ซึ่งจะทำให้เครือข่ายการบินกว้างมากขึ้นทำให้สะดวกและประหยัดเวลาในการเดินทาง
และส่งออกสินค้าทางการเกษตรภายในพื้นที่ได้เร็วขึ้น เช่น ผลไม้ ภาคตะวันออก
สามารถส่งขายทางไกล ๆ รวมถึงส่งออกต่างประเทศได้เร็วขึ้น
สร้างรายได้ให้เกษตรกรรมมากขึ้น
ซึ่งในแต่ละปีมีแนวโน้มในการใช้งานท่าอากาศยานแห่งมากขึ้น
โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานของท่าอากาศยาน
ส่งเสริมการท่องเที่ยวของทางจังหวัด การขนส่งสินค้า
และรองรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ประเด็นที่มาโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย (Function)
เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจออกสู่ตัวเมืองต่างๆ
การเดินทางออกสู่ต่างจังหวัดจึงมีความต้องการสูงขึ้น
ระบบการขนส่งต่างจึงจำเป็นที่จะต้องรวดเร็วขึ้น
เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นเรื่อยๆ และการเดินทางทางอากาศจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่ให้ทั้งความสะดวกรวดเร็ว
ที่มีการบริการที่สะดวกสบายกว่า
และเนื่องด้วยประเด็นการขยายตัวของการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแรงผลักดันทำให้คนไทยหันมาเที่ยวในประเทศกันมากขึ้น
จังหวัดตราดซึ่งมีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงอยู่แล้ว
เนื่องจากมีทรัพยาการทางธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรม
และที่สำคัญมีสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล เช่น เกาะช้าง เกาะกูด และเกาะเล็กๆอีก 50
เกาะซึ่งเป็นที่นิยมทั้งในชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งในรอบปีที่ 2550
จังหวัดตราดทำรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 5,669 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 16 ของปี และที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนเป็นจำนวนถึง
1,139,000 คน
1. ประเด็นโครงการที่มาด้านรูปแบบ (Form)
ปัจจุบันทางท่าอากาศยานแห่งนี้ได้เน้นให้บริการภายในประเทศ
ซึ่งถ้าจะทำให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาตินั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย
และประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นและทันสมัย
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ความสะดวกสบาย ความทันสมัยและการนำเทคโนโลยีที่จำเป็นมาใช้บริการเพื่อให้การรองรับในอนาคตได้อย่างเพียงพอ
2. ประเด็นที่มาด้านเทคโนโลยี (Technology)
โดยจากการพัฒนาทางด้านระบบอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ของโครงการโดยการขยายตัว
ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับตัวให้อาคารมีความทันสมัยมากขึ้นตอบสนองต่อปริมาณของผู้ที่เข้ามาใช้งานได้อย่างเต็มที่
ซึ่งในอนาคตจะมีการปรับมาใช้เครื่องบินแบบ B737-800, A380 เป็นต้น
ให้บริการในทุกวันและการเพิ่มเติมส่วนของเครื่องจับตรวจอาวุธและวัตถุระเบิดแบบ x-rayเพื่อการขยายการรองรับให้มากเพียงพอต่อความต้องการ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1)
เพื่อศึกษาการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของท่าอากาศยาน
2)
เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรม และรูปแบบ ของสถาปัตยกรรม ที่เหมาะสมกับโครงการ
3)
เพื่อศึกษาถึงกระบวนการทางการออกแบบในทุกขั้นตอน
และความสัมพันธ์ของแต่ละขั้นตอนว่าสอดคล้องกันยังไง
4)
เพื่อศึกษาถึงการ ทำรายละเอียดโครงการ ทางสถาปัตยกรรม
อย่างมีระบบ เพื่อใช้ในการออกแบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น